ตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการประเมิน คุณภาพ ของเอลิเมนต์คือ อัตราส่วนกว้างยาว
ในการจำลองเอลิเมนต์รูปสามเหลี่ยมนั้นเป็นรูปแบบหลักในการแบ่งพื้นผิวของ ชิ้นงาน
อัตราส่วนกว้างยาวสามารถกำหนดได้หลายวิธี เช่น
ใน โมลเด๊กส์ทรีดี ใช้อัตราส่วนกว้างยาวเกิดจากการคำนวณด้วยวงกลมสองวง
วงกลมด้านในสัมผัสกับขอบของสามเหลี่ยมทุกด้าน ในขณะที่ด้านนอกจะสัมผัสผ่านมุมทั้งหมดของเอลิเมนต์
อัตตราส่วนกว้างยาวเท่ากับ สองเท่าของรัศมีภายในหารด้วยรัศมีภายนอกของวงกลม
สามเหลี่ยมด้านเท่ามีอัตราส่วนกว้างยาวเท่ากับ 1 ส่วนสามเหลี่ยมที่ไม่มีพื้นที่ผิวมีอัตราส่วนกว้างยาวเป็น 0 กล่าวคือยิ่งมีอัตราส่วนกว้างยาวสูงหรือเข้าใกล้ 1 ยิ่งบ่งบอกถึงคุณภาพที่ดีกว่า
ส่วน โมลโฟวล์ นั้นมีวิธีการคำนวณอัตราส่วนกว้างยาวที่แตกต่างออกไป โดยใช้อัตราส่วนด้านที่ยาวที่สุดต่อความสูงที่ตั้งฉากกับด้านยาวที่สุด ค่าอัตราส่วนกว้างยาวยิ่งต่ำ ยิ่งมีคุณภาพดี

https://i0.wp.com/www.plexpert.ca/wp-content/uploads/2020/10/AspectRatio.png?w=400&ssl=1) ในอุตสาหกรรมพลาสติก


การจำลองการฉีดขึ้นรูป: อัตราส่วนกว้างยาวคือ สองเท่าของรัศมีด้านใน (สีน้ำเงิน) หารด้วย รัศมีด้านนอก (สีเหลือง) ของวงกลม

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง:

จุดต่อ (Node)
พอยต์คลาวด์ (Point Cloud)
พื้นผิวแบบจำลอง (Surafce Model)

พจนานุกรมอุตสาหกรรมพลาสติกจัดทำโดย PLEXPERT Canada Inc.