การกระจายทางความร้อน (Heat Dissipation)

ความร้อนที่เพิ่มขึ้นของพลาสติกหลอมเหลวเนื่องจากการเฉือนเรียกว่า การกระจาย หรือ ความร้อนเฉือน
ชั้นของการเปลี่ยนผ่านระหว่างชั้นผิวแข็งและชั้นหลอมไหล เป็นชั้นที่เกิดอัตราการเฉือนสูงสุดในพลาสติกหลอมไหล
การเฉือนขึ้นอยู่กับ อัตราการไหล ของหลอมไหลและหน้าตัดตามขวาง
ยิ่งเกิดอัตราการเฉือนในพลาสติกหลอมไหลมาก ก็ยิ่งทำให้เกิดความร้อนเฉือนเพิ่มมากขึ้น
การเฉือนที่สูงเกินไปอาจนำไปสู่การสลายตัวของสายโซ่โมเลกุล

การกระจายทางความร้อน (Heat Dissipation) ในอุตสาหกรรมพลาสติก - TecSim
การกระจายทางความร้อน (Heat Dissipation) ในอุตสาหกรรมพลาสติก - TecSim
ภาพ 1: พลาสติก: ความเร็วของพลาสติกหลอมเหลวตลอดหน้าตัดขวางของความหน
ภาพ 2: พลาสติก: การกระจายตัวของอุณหภูมิตลอดหน้าตัดขวางของความหนา

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง:

อัตราเฉือน (Shear Rate)



ข้อมูลและงานบริการจัดทำโดย:

TecSim logo


พจนานุกรมอุตสาหกรรมพลาสติกจัดทำโดย PLEXPERT Canada Inc.

การสร้างวัสดุใหม่ (การผสม) (Regenerate (Compound))

การบวนการบดใหม่โดยผ่านกระบวนการหลอมและเพิ่มสารเติมแต่ง
ตัวอย่างการใช้สารเติมแต่งเพื่อกำหนดคุณสมบัติทางกลเฉพาะของวัสดุ
การสร้างวัสดุใหม่มีกระบวนการเหมือนกับการสร้างเม็ดพลาสติกใหม่
ซึ่งมีขนาดสม่ำเสมอและไม่มีฝุ่นเจือปน
ทำให้สามารถนำวัสดุกลับมาใช้ผลิตใหม่เป็นชิ้นส่วนพลาสติกผ่านการฉีดขึ้นรูปได้โดยง่าย

การสร้างวัสดุใหม่ (การผสม) (Regenerate (Compound)) ในอุตสาหกรรมพลาสติก - MKV

พลาสติก: สารเติมแต่งถูกใส่เข้าไปในการผลิต

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง:

รีไซเคิล (ทางกล) (Recycling (mechanical))



ข้อมูลและงานบริการจัดทำโดย:

MKV logo


พจนานุกรมอุตสาหกรรมพลาสติกจัดทำโดย PLEXPERT Canada Inc.

การหดตัว (Shrinkage)

การลดลงของปริมาตรจำเพาะหรือขนาดรูปทรง เมื่ออุณหภูมิลดลง ทำให้สสารหดตัว
สำหรับ กระบวนการฉีดขึ้นรูป ชิ้นงานหดตัว เมื่ออุณหภูมิของชิ้นงานขณะกระบวนการลดลงมาที่อุณหภูมิห้อง
การหดตัวแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ทันทีหลังกระบวนการผลิต และการหดตัวระยะเวลาหนึ่งหลังกระบวนการผลิต
การหดตัวทันทีหลังกระบวนการผลิต เกิดจากการหดตัวเชิงปริมาตร การบังคับโดยรูปทรงของโพรงแบบ การเกิดผลึกและการเรียงตัว
การหดตัวระยะเวลาหนึ่งหลังกระบวนการผลิต โดยปกติจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังการผลิต
สาเหตุของการหดตัวส่วนใหญ่เกิดจากคลายตัวของความเครียดตกค้าง

การหดตัว (Shrinkage) ในอุตสาหกรรมพลาสติก

พลาสติก: ลูกศรสีแดงแสดงการหดตัวของชิ้นงาน

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง:

พจนานุกรมอุตสาหกรรมพลาสติกจัดทำโดย PLEXPERT Canada Inc.

การหดตัวเชิงปริมาตร (Volumetric Shrinkage)

การลดลงของปริมาตรจำเพาะของ ชิ้นงาน (Part) เรียกว่า การหดตัวเชิงปริมาตร
ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างช่วงการฉีดและการปลดชิ้นงาน
การหดตัวทางความร้อนคือ หนึ่งในสาเหตุหลักของการหดตัวเชิงปริมาตร
สำหรับ พอลิเมอร์ (Polymer) ที่มีโครงสร้างแบบกึ่งผลึก การเกิดผลึกคือ อีกหนึ่งสาเหตุ
ความแตกต่างของความหนาของผนังสูง และการอัด/ย้ำไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการหดตัวสูง
จึงส่งผลให้เกิด การบิดตัว (Warpage)สูง รอยยุบ (Sink Mark) และโพรงอากาศ (Void)

การหดตัวเชิงปริมาตร (Volumetric Shrinkage) ในอุตสาหกรรมพลาสติก

ส่วนที่ระบุด้วยสีแดงมีการหดตัวเชิงปริมาตรสูงกว่าส่วนที่ระบุด้วยสีน้ำเงิน

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง:

พจนานุกรมอุตสาหกรรมพลาสติกจัดทำโดย PLEXPERT Canada Inc.

การหดตัวเชิงเส้น (Linear Shrinkage)

ค่าความแตกต่างระหว่างขนาดโพรงแบบกับขนาดชิ้นงานหลังจากการฉีดขึ้นรูปเรียกว่า การหดตัวเชิงเส้น
การหดตัวถูกจำกัดและขึ้นอยู่กับรูปทรงของ โพรงแบบ ความเป็นผลึก และการเรียงตัว
การเรียงตัวเกิดขึ้นเนื่องจากแรงเฉือนในช่วงการฉีดเติมและการฉีดย้ำ
ทิศทางของการเรียงตัวส่งผลกระทบโดยตรงต่อการหดตัวเชิงเส้น และส่งผลกระทบมากขึ้นไปอีกเมื่อวัสดุนั้นมีส่วนผสมของเส้นใยแก้ว

การหดตัวเชิงเส้น (Linear Shrinkage) ในอุตสาหกรรมพลาสติก

พลาสติก: ชิ้นงานมีขนาดเล็กกว่า โพรงแบบ เนื่องจากการหดตัว

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง:

พจนานุกรมอุตสาหกรรมพลาสติกจัดทำโดย PLEXPERT Canada Inc.